เชิดชูเกียรติ ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ รับพระราชทานรางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น” ประจำปี พ.ศ. 2563



ลงวันที่ : 09/10/2020



                มื่อวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดงาน “การประชุมวิชาการนานาชาติทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 46” ในโอกาสนี้ ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ได้เข้ารับพระราชทานรางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น” ประจำปี พ.ศ. 2563 ซึ่งจัดขึ้นโดย มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ในงานประชุมวิชาการนานาชาติทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 46 ที่ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม 2563 ณ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง งวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น” ที่ ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ได้เข้ารับพระราชทานในครั้งนี้ มาจากผลงาน โครงการ “นวัตกรรมชุดทดสอบสำเร็จรูปแบบรวดเร็ว เพื่อวินิจฉัยโรคติดเชื้อปรสิตเขตร้อน อ่านผล ณ จุดทดสอบด้วยเทคนิคอิมมิวโนโครมาโตกราฟี” เป็นเทคโนโลยีที่นำเสนอโดย ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ (อินต๊ะพันธุ์) และคณะ จากภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นไปตามที่คณะกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น อันประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในเทคโนโลยี ด้านต่าง ๆ เป็นผู้พิจารณาผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ได้แก่ ปริมาณเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทยหรือ โดยคนไทย (Technology content) ระดับของการพัฒนาเทคโนโลยี (Technology readiness level) ได้แก่ระดับ concept formulation, lab demonstration, engineering prototype และ full operation และผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์และสังคมของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นหรือศักยภาพที่จะทำเกิดขึ้น (Impact)

                .พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ กล่าวว่า “นวัตกรรมชุดทดสอบสำเร็จรูปแบบรวดเร็ว เพื่อวินิจฉัยโรคติดเชื้อปรสิตเขตร้อน อ่านผล ณ จุดทดสอบ ด้วยเทคนิคอิมมิวโนโครมาโตกราฟี (Immunochromatography) ทั้ง 8 โรค คือ โรคพยาธิตัวจี๊ด พยาธิแคปิลลาเรีย พยาธิใบไม้ตับ (Ov) พยาธิเส้นด้าย พยาธิปอดหนู พยาธิใบไม้ปอด พยาธิใบไม้ตับวัว-ควาย และโรคทริคิโนสิส) ใช้หลักการเดียวกับการตรวจหาแอนติบอดีในเลือดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประกอบด้วย 2 เทคโนโลยีหลัก คือ (1) เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (Recombinant technology) เพื่อผลิตโปรตีนแอนติเจนที่มีความจำเพาะสูง คุณภาพคงเดิม ผลิตได้อย่างไม่จำกัด และ (2) Lateral flow technology เป็นหลักการที่สารละลายแอนติบอดีในซีรั่มไหลมาทำปฏิกริยาอย่างจำเพาะกับแอนติเจนที่เป็นองค์ประกอบของชุดทดสอบฯ ความสำเร็จของการผลิตชุดทดสอบคือการวิจัยพัฒนาหาสภาวะที่เหมาะสมทุกขั้นตอน ทำให้ใช้แยกผู้ติดเชื้อออกจากผู้ไม่ติดเชื้อได้ ชุดทดสอบแบบรวดเร็ว (rapid test) ใช้ง่าย อ่านผลด้วยตาเปล่าในเวลา 15 นาที ที่ทำให้ผู้ต้องการใช้เข้าถึงง่าย ผลิตโดยสถานผลิตเครื่องมือแพทย์ ตั้งอยู่ที่ชั้น 6 อาคารเวชวิชชาคาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 (2015) และ ISO 13485 (2016) ผลิตโปรตีนแอนติเจน มีคลังตัวอย่างซีรั่มทดสอบ และชุดทดสอบสำเร็จรูปได้ตลอดสายพานการผลิต และร่วมกับบริษัทเคเทรล ไบโอ ไซเอ็นซ์ (ประเทศไทย) เพื่อจัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ” “คุณค่าที่สำคัญคือเป็นชุดทดสอบแบบรวดเร็ว ช่วยแก้ปัญหาการมีผู้ติดเชื้อและเสี่ยงต่อการติดเชื้อปรสิตที่มีอยู่รวมทั่วโลกกว่า 1,000 ล้านคน ช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต ลดค่าใช้จ่ายเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่จำเป็น ค่ารักษาพยาบาล และการครองเตียง และส่งเสริมเศรษฐกิจไทย สร้างรายได้ เพิ่มโอกาสการแข่งขันกับต่างประเทศด้านการผลิตนวัตกรรมชุดทดสอบทางการแพทย์ ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับที่ผลิตเพื่อติดตามผู้ที่มีโอกาสเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย สามารถจัดซื้อได้โดยไม่มีคู่เทียบ ผลิตภัณฑ์ชุดทดสอบทั้ง 8 ชุด ได้ผลิตออกจำหน่ายในเชิงพานิชย์ (1 กล่อง ทดสอบบรรจุ 20 tests ราคากล่องละ 10,000 บาท) และสร้างผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ใน Quartile 1 จำนวน 9 เรื่อง ยื่นจดสิทธิบัตร 4 เรื่อง และยื่นจดอนุสิทธิบัตร 4 เรื่อง” ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ กล่าวในที่สุดว่า “ขอขอบคุณทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว) ที่มี ศ.ดร.วัันชัย มาลีวงษ์ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกสว. เป็นหัวหน้าโครงการผู้รับทุน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพลุ่มน้ำโขง (สวข) คณะแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น” รางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น” และ “นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่” เป็นรางวัลที่มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อมอบให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จนเห็นเป็นรูปธรรม สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับประเทศได้ ผลงานเทคโนโลยีที่ได้รับพิจารณาอาจเป็นผลงานของนักเทคโนโลยีที่มาจากภาครัฐหรือเอกชน ผลงานหลักที่เสนอเพื่อรับรางวัลควรจะเป็นผลงานที่อยู่ในรูปต้นแบบ (prototype) สิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบต่าง ๆ รายงานทางเทคนิคที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง (technical report) และผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ ความโดดเด่นและนวัตกรรมของเทคโนโลยีนั้น ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการพึ่งพาตนเองและสามารถแข่งขันได้ ส่วนรางวัล “นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่” นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ที่เริ่มมีผลงานวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เป็นที่ประจักษ์ถึงศักยภาพและความทุ่มเท ในการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีในสาขาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง ทั้งนี้ ในประเภทของรางวัลนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราขทานพระบรมราชานุญาตให้โครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ใช้ “เรือซูเปอร์มด” ซึ่งเป็นผลงานของพระองค์ท่านที่แสดงถึงการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพการใช้งานที่เป็นเลิศ เป็นแบบฉบับของกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างครบวงจร ซึ่งตั้งรางวัลไว้ 2 ประเภท ได้แก่ รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น เงินรางวัลรวม 1,000,000 บาท (ปีละไม่เกิน 2 รางวัล) พร้อมโล่รางวัลพระราชทานประติมากรรม “เรือใบซูปเปอร์มด” และ รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ เงินรางวัลๆ ละ 100,000 บาท (ปีละไม่เกิน 2 รางวัล) พร้อมเหรียญรางวัล “เรือใบซุปเปอร์มด” รางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น” ที่ ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ได้เข้ารับพระราชทานในครั้งนี้ เป็นส่วนสำคัญที่อยู่ภายใต้นโยบายด้าน People ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนนักวิจัยมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ เป็นผลงานที่นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับประเทศได้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการพึ่งพาตนเองและสามารถแข่งขันได้

                ข่าว : วัชรา น้อยชมภู





Link : https://th.kku.ac.th/34989/